เมนู

ทุพภิกขภัย และพยาธิภัยเป็นต้นเห็นปานนั้น ย่อมทำลายศีลแล้วถนอม
อัตภาพไว้. ส่วนผู้ใด มีการกำหนดสังขาร ผู้นั้น ย่อมไม่มีความรักอย่าง
รุนแรง หรือความเสน่หาในอัตภาพ ก็เมื่อเขาเผชิญทุพภิกขภัย และ
พยาธิภัยเป็นต้นเห็นปานนั้น ถึงแม้ว่าไส้ใหญ่ของเขาจะไหลออกมาข้าง
นอก ถ้าหากว่าเขาจะซูบผอม ซูบซีด หรือขาดออกเป็นท่อน ๆ ตั้งร้อย
ท่อน พันท่อน เขาก็จะไม่ทำลายศีลแล้วถนอมอัตภาพไว้เลย. การกำหนด
สังขาร ย่อมอนุรักษ์ศีลได้อย่างนี้. ก็ด้วยบทว่า พฺชูเหตา สูญฺญาคารานํ
นี้พระองค์ทรงแสดงการเพิ่มพูนการเจริญและการทำโดยติดต่อ ซึ่งเหตุทั้ง
2 อย่างนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า เพราะภิกษุผู้หวังคุณธรรม 4
ประการเหล่านี้ คือ เราพึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพนับถือ
ของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ไม่มีกิจที่จะต้องทำอะไรอื่น (แต่) พึง
เป็นผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้นโดยแท้ เพราะว่าภิกษุผู้ประกอบด้วย
คุณมีศีลเป็นต้นเช่นนี้ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพนับถือ
ของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย. สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ว่า
ชนย่อมทำบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีลและทัสสนะ ผู้
ตั้งอยู่ในธรรม ผู้มีปกติกล่าวคำจริง ผู้ทำการงาน
ของตน ให้เป็นที่รัก ดังนี้ .

ความหวังที่ 2


[75 ] เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นที่รัก ฯ ล ฯ เป็นที่ชอบใจ
ของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ดังนี้ เธอพึงเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล
ทั้งหลาย ฯล ฯ เธอพึงเพิ่มพูนการอยู่ในเรือนว่าง ดังนี้แล้ว บัดนี้ เพราะ
เหตุที่ภิกษุปรารถนาปัจจัยมีลาภเป็นต้น พึงทำกิจนี้อย่างเดียว ไม่พึงทำกิจ
อะไร ๆ อื่นจากนี้ฉะนั้น จึงได้ตรัสดำมีอาทิไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้มีลาภ ดังนี้เป็นต้น.
ก็ในที่นี้ อย่าพึงเข้าใจว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการบำเพ็ญศีล
เป็นต้น ซึ่งมีลาภเป็นนิมิตไว้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ตรัส
ปฏิเสธการแสวงหาลาภ ไม่ตรัสพระวาจาที่พาดพิงถึง (ลาภ) ทรงโอวาท
แก่เหล่าพระสาวกอย่างนี้. พระองค์จักตรัสการบำเพ็ญคุณมีศีลเป็นต้น ซึ่ง
มีลาภเป็นนิมิตได้อย่างไร.
แต่ว่าคำนั้นพระองค์ตรัสไว้ด้วยอำนาจอัธยาศัยของบุคคล. อธิบาย
ว่า ภิกษุเหล่าใดพึงมีอัธยาศัยอย่างนี้ว่า ถ้าหากว่าเราไม่ต้องลำบากด้วย
ปัจจัย 4 ไซร้ เราอาจเพื่อจะบำเพ็ญศีลเป็นต้นให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้. พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้อย่างนี้ ด้วยสามารถอัธยาศัยของชนทั้งหลายเหล่า
นั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าปัจจัย 4 นี้นั้น เป็นอานิสงส์ที่แท้จริงของศีล.
จริงอย่างนั้น มนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตทั้งหลายนำสิ่งของที่คนเก็บไว้ในฉาง
เป็นต้นออกมา ทั้งบุตรเป็นต้นก็ไม่ให้ ทั้งตนเองก็มิได้ใช้สอย แต่มอบ
ถวายแก่ท่านผู้มีศีล คำดังกล่าวมานี้ ท่านกล่าวไว้เพื่อแสดงอานิสงส์ที่แท้
จริงของศีล.

ความหวังที่ 3


[76] พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ 3 ต่อไป
บทว่า เยสาหํ ตัดบทเป็น เยสํ อหํ
บทว่า เตสนฺเต การา ความว่า สักการะคือการถวายปัจจัยเหล่า
นั้น เทวดาหรือมนุษย์ได้ทำแล้วในตัวเรา ความจริง เทวดาทั้งหลาย
ย่อมถวายปัจจัยแก่ท่านผู้ประกอบด้วยคุณ มีศีลเป็นต้น จะมีเฉพาะมนุษย์
อย่างเดียวเท่านั้นก็หามิได้, ดังที่ท้าวสักกเทวราชได้ถวายแก่ท่านมหา-
กัสสปะ.

คำทั้ง 2 นี้ว่า มหปฺผลา นหานิสํสา โดยเนื้อความแล้วมีความ
หมายอย่างเดียวกัน ต่างกันเพียงพยัญชนะเท่านั้น. สักการะที่ชื่อว่ามีผล
มาก เพราะผลิตโลกิยสุขอย่างมากมายให้. ชื่อว่ามีอานิสงส์มาก เพราะ
เป็นปัจจัยของโลกุตตรสุขอย่างใหญ่หลวง. ความจริง ภิกษาทัพพีเดียวก็ดี
บรรณศาลาที่พื้นดินยาวประมาณ 5 ศอกก็ดี ที่บุคคลทำถวายแก่ท่านผู้
ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ย่อมรักษาเขาไว้ได้จากทุคติ วินิบาต เป็น
เวลาหลายแสนกัลป์. และในบั้นปลายยิ่งเป็นปัจจัยแห่งการดับรอบด้วย
อมตธาตุ. ก็ในเรื่องนี้มีเรื่องเป็นต้นว่า เราได้ถวายน้ำนมและข้าวสุก
เป็นต้น หรือมีเปตวัตถุและวิมานวัตถุทั้งมวล เป็นเครื่องสาธก. เพราะ-
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงว่า ภิกษุแม้ปรารถนาที่จะให้
ความที่สักการะที่ผู้ถวายปัจจัยในตนนั้นมีผลมาก พึงเป็นผู้ประกอบด้วย
คุณมีศีลเป็นต้นนั้นแล.